วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559
มุมกล้องและขนาดภาพ
มุมกล้องและขนาดภาพ
มกล้อง
ภาพมุมปกติ (Normal angle shot) คือการตั้งกล้องระดับเดียวกับสิ่งที่ถ่ายหรือระดับสายตาของผู้แสดง สื่อความหมายถึงความเรียบง่าย คุ้นเคย ใช้กับภาพทั่วๆไปเป็นมุมกล้องที่ใช้มากที่สุด ภาพอยู่ในระดับสายตาหรือบางทีเรียกภาพมุมระดับสายตา
ภาพมุมต่ำ( Low angle shot) คือการตั้งกล้องระดับต่ำกว่าวัตถุหรือต่ำกว่าสิ่งที่ถ่าย หรือต่ำกว่าระดับสายตาของผู้แสดง สื่อความหมายถึงพลัง อำนาจความเข้มเเข็ง
ภาพมุมสูง (high angle shot) คือการตั้งกล้องระดับสูงกว่าวัตถุหรือสุงกว่าสิ่งที่ถ่าย สื่อความหมายตรงข้ามกับภาพมุมต่ำ คือ ไร้พลัง ไร้อำนาจ อ่อนแอ ต่ำต้อย
มุมวัตถุ (Objective )คือมุมของผู้ดู เป็นมุมภาพทั่วๆ ไปเหมือนภาพมุมปกติแทนสายตาของผู้ชมที่เป็นผู้สังเกตการณ์ ไม่มีส่วนร่วม เช่น ผู้ชมมองเห็นวัตถุ สถานที่ หรือมองเห็นตัวแสดงคุยกันเอง
มุมแทนความรู้สึกผู้แสดง ตรงข้ามกับมุมวัตถุ(Subjective) คือ ภาพมุมมองของ ตัวแสดง เช่น ตำรวจเล็งปืนสอดส่ายตามองหาผู้ร้ายที่หลบอยู่ในลานจอดรถ จะเป็นภาพแทนสายตาของตัวแสดง คือภาพรถกวาดไปทีละคัน
มุมข้ามไหล่ (Over Shoulder shot )คือการตั้งกล้องไว้ทางซ้ายหรือขวาของคู่สนทนาถ่ายเฉียงผ่านไหล่ของคู่สนทนา เห็นหน้าของคนที่แสดงหรือคนที่กำลังพูดแสดง โดยไม่มีไหล่และบางส่วนของศีรษะคู่สนทนาเป็นฉากหน้า ให้รู้ว่ากำลังคุยกับผู้อื่น และทำให้ภาพมีมิติมีความลึก
ขนาดภาพ
ภาพไกลมาก (Extreme Long Shot หรือ ELS)
ขนาดภาพลักษณะนี้กล้องจะตั้งอยู่ไกลจากสิ่งที่ถ่ายมาก ซึ่งภาพที่ได้จะเป็นภาพมุม-กว้าง ผู้ชมสามารถมองเห็นองค์-ประกอบของฉากได้ทั้งหมด สามรถมองเห็นสิ่งที่ถ่ายได้เต็มสัดส่วน แม้สิ่งที่ถ่ายนั้นจะมีขนาดเล็กก็ตาม ซึ่งภาพลักษณะนี้ จะใช้เป็นภาพแนะนำ-สถานที่ เหมาะสำหรับการปูเรื่อง เริ่มเรื่อง ซึ่งภาพยนตร์ในต่างประเทศนิยมใส่ไตเติ้ลส่วนหัวไว้ในฉากประเภทนี้ตอนที่ภาพยนตร์ริ่มเข้าเนื้อเรื่อง
ภาพขนาดไกลนี้จะสร้างความรู้สึกโอ่อ่า อลังการ แสดงออกถึงความใหญ่โตของสถานที่ ความน่าเกรงขาม ความยิ่งใหญ่ และยังสามารถสร้างความประทับใจรวมถึงสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมได้อีกด้วย
เช่น กลุ่มเรือโจรสลัดกำลังแล่นเรือออกสู่ทะเลกว้างโดยมีเรือของหัวหน้าโจรสลัดแล่นออกเป็นลำหน้า ตามด้วยกลุ่มเรือลูกน้องอีกนับ 10ลำ โดยใช้ภาพขนาดไกลมาก ตั้งกล้องในมุมสูงทำให้ผู้ชมเห็นถึงความยิ่งใหญ่และน่าเกรงขามของโจรสลัดกลุ่มนี้
เป็นต้น
ขนาดภาพลักษณะนี้กล้องจะตั้งอยู่ไกลจากสิ่งที่ถ่ายมาก ซึ่งภาพที่ได้จะเป็นภาพมุม-กว้าง ผู้ชมสามารถมองเห็นองค์-ประกอบของฉากได้ทั้งหมด สามรถมองเห็นสิ่งที่ถ่ายได้เต็มสัดส่วน แม้สิ่งที่ถ่ายนั้นจะมีขนาดเล็กก็ตาม ซึ่งภาพลักษณะนี้ จะใช้เป็นภาพแนะนำ-สถานที่ เหมาะสำหรับการปูเรื่อง เริ่มเรื่อง ซึ่งภาพยนตร์ในต่างประเทศนิยมใส่ไตเติ้ลส่วนหัวไว้ในฉากประเภทนี้ตอนที่ภาพยนตร์ริ่มเข้าเนื้อเรื่อง
ภาพขนาดไกลนี้จะสร้างความรู้สึกโอ่อ่า อลังการ แสดงออกถึงความใหญ่โตของสถานที่ ความน่าเกรงขาม ความยิ่งใหญ่ และยังสามารถสร้างความประทับใจรวมถึงสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมได้อีกด้วย
เช่น กลุ่มเรือโจรสลัดกำลังแล่นเรือออกสู่ทะเลกว้างโดยมีเรือของหัวหน้าโจรสลัดแล่นออกเป็นลำหน้า ตามด้วยกลุ่มเรือลูกน้องอีกนับ 10ลำ โดยใช้ภาพขนาดไกลมาก ตั้งกล้องในมุมสูงทำให้ผู้ชมเห็นถึงความยิ่งใหญ่และน่าเกรงขามของโจรสลัดกลุ่มนี้
เป็นต้น
ภาพไกล (Long Shot หรือ LS)
ขนาดภาพแบบนี้ไม่สามารถกำหนดระยะห่างระหว่างกล้องกับสิ่งที่ถ่ายได้ แต่จะกำหนดโดยประมาณว่าสิ่งที่ถ่ายจะอยู่ในกรอบภาพ (Frame) พอดี ถ้าเป็นคน ศีรษะจะพอดีกับกรอบภาพด้านบน ส่วนกรอบภาพด้านล่างก็จะพอดีกับเท้า ซึ่งสามารถเห็นบุคลิก
อากัปกิริยาการแสดง การเคลื่อนไหว ตำแหน่งที่อยู่ในการแสดงหรือในฉาก ด้วยเหตุนี้จึงสามารถใช้เป็นภาพแนะนำตัวละคร หรือเริ่มฉากใหม่ได้ บางครั้งอาจใช้เป็นภาพในฉากเริ่มเรื่องได้เช่นเยวกันกับภาพขนาดไกลมาก และบางครั้งภาพขนาดไกลยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอสทาบริชชิง ช็อต (Establishing Shot) ส่วนองค์ประกอบรอบข้างผู้ชมจะได้เห็นรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น
อากัปกิริยาการแสดง การเคลื่อนไหว ตำแหน่งที่อยู่ในการแสดงหรือในฉาก ด้วยเหตุนี้จึงสามารถใช้เป็นภาพแนะนำตัวละคร หรือเริ่มฉากใหม่ได้ บางครั้งอาจใช้เป็นภาพในฉากเริ่มเรื่องได้เช่นเยวกันกับภาพขนาดไกลมาก และบางครั้งภาพขนาดไกลยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอสทาบริชชิง ช็อต (Establishing Shot) ส่วนองค์ประกอบรอบข้างผู้ชมจะได้เห็นรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น
ภาพปานกลาง Medium Shot หรือ MS)
ขนาดภาพลักษณะนี้ถ้าเป็นภาพบุคคล ผู้ชมจะได้เห็นตั้งแต่เอวของนักแสดงขั้นไปจนถึงศีรษะ ขนาดภาพแบบนี้ผู้ชมสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของนักแสดง และรายละเอียดของฉากหลังพอสมควร ซึ่งพอที่จะเข้าใจเรื่องราวต่างๆได้ จึงถือได้ว่าเป็นภาพที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ในเรื่องได้ดีขนาดภาพปานกลาง เป็นขนาดภาพที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะใช้เป็นภาพเชื่อมต่อ กล่าวคือ การเปลี่ยนขนาดภาพจากภาพไกลมาเป็น
ภาพไกล้หรือจากภาพใกล้มาเป็นภาพไกลก็ตาม จะต้องเปลี่ยนมาเป็นภาพขนาดปานกลางเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ขัดต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ชม
เนื่องจากภาพจะกระโดด
นอกจากนี้ภาพขนาดปานกลางยังนิยมใช้ถ่ายภาพบุคคล 2 คนในฉากเดียวกัน หรือที่เรียกกันว่า ภาพ Two Shot ซึ่งนิยมใช้กันมาก
ในภาพยนตร์บันเทิง
ภาพไกล้หรือจากภาพใกล้มาเป็นภาพไกลก็ตาม จะต้องเปลี่ยนมาเป็นภาพขนาดปานกลางเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ขัดต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ชม
เนื่องจากภาพจะกระโดด
นอกจากนี้ภาพขนาดปานกลางยังนิยมใช้ถ่ายภาพบุคคล 2 คนในฉากเดียวกัน หรือที่เรียกกันว่า ภาพ Two Shot ซึ่งนิยมใช้กันมาก
ในภาพยนตร์บันเทิง
ภาพใกล้ (Close-Up หรือ CU, Close Shot หรือ CS)
ภาพใกล้ ผู้ชมจะมองเห็นนักแสดงตั้งแต่ไหล่ขึ้นไป เป็นขนาดภาพที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงอารมณ์ของนักแสดงได้มากที่สุด เพราะการใช้ภาพขนาดใกล้ถ่ายบริเวณใบหน้าของนักแสดง จะสามารถภ่ายถอดรายละเอียด เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ภายในของนักแสดงได้อย่างชัดเจนมาก นอกจากนี้ยังจะทำให้ผู้ชมได้รู้สึกใกล้ชิดกับสิ่งที่ถ่ายอีกด้วยทั้งนี้เพื่อทำให้เข้าใจถึงรายละเอียดของวัตถุต่างๆ ตามเนื้อหาที่กำลังนำเสนอ และ
ภาพขนาดใกล้นี้ยังสามารถบังคับให้ผู้ชมสนใจในวัตถุที่กล้องกำลังถ่าย หรือสิ่งที่กำลังนำเสนอ
ภาพขนาดใกล้นี้ยังสามารถบังคับให้ผู้ชมสนใจในวัตถุที่กล้องกำลังถ่าย หรือสิ่งที่กำลังนำเสนอ
ภาพใกล้มาก (Extreme Close-Up Shot หรือ ECU, Big Close-Up Shot หรือ BCU)
เป็นภาพที่ถ่ายในระยะใกล้มากๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเน้นสิ่งที่ถ่าย เพื่อให้ผู้ชมเห็นรายละเอียดของวัตถุ หรือเพื่อเพิ่มความเข้าใจในกรณีที่วัตถุมีขนาดเล็กมากๆ เช่น การถ่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นหรือถ้าถ่ายใบหน้านักแสดง ก็เพื่อเป็นการเน้นอารมณ์ของนักแสดงเช่น จับภาพที่ดวงตาของนักแสดง ทำให้เห็นน้ำตาที่กำลังใหลออกจากดวงตา เป็นต้นและทั้งหมดนี้ก็เป็นขนาดภาพที่นิยมนำมาถ่ายทอดเรื่องราวของภาพยนตร์ ซึ่งตมความเป็นจริงแล้ว เราสามารถที่จะประยุกต์หรือดัดแปลงขนาดภาพไปเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ผิดอะไร เพียงแต่ทั้งหมดนี้เป็นขนาดภาพสากลที่ทำให้เรา (ทีมงานถ่ายทำภาพยนตร์) เข้าใจตรงกันว่าต้องการให้ภาพออกมาในลักษณะใดเท่านั้น นอกจากนี้อารมณ์และความรู้สึกที่ผู้ชมจะได้รับขณะชมภาพยนตร์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดภาพเพียงย่างเดียว แต่ต้องอาศัยองค์ประกอบของภาพยนตร์อื่นๆ เข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมความน่าเชื่อถือ และความเป็นภาพยนตร์มากยิ่งขึ้น
อาชีพรายได้ดี
อาชีพ รายได้ดี
1. งานกายอุปกรณ์ (Orthotists and Prosthetists)บุคลากรด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ผู้ทำหน้าที่ออกแบบ วัดขนาด รวมไปถึงทุกขั้นตอนของการผลิต ดัดแปลงและซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ใช้กับร่างกายเพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนไหว เช่น แขนเทียม ขาเทียม อุปกรณ์ประคองหรือดามหลัง อุปกรณ์ดามมือ และอวัยวะเทียมเกือบทุกชนิด หน้าที่ช่วยเหลือผู้ป่วยแบบนี้แน่นอนว่ารายได้ดีงามทีเดียวเชียวล่ะ โดยค่าจ้างของอาชีพนี้ตกชั่วโมงละ 30.27 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยก็ราว ๆ 980 บาทต่อชั่วโมง กดเครื่องคิดเลขอีกนิดก็จะรู้เลยว่าเป็นอาชีพที่ทำเงินประมาณ 235,200 บาทต่อเดือนแน่ะ !
อาชีพนี้ไม่เพียงแต่มีรายได้ดี ทว่าสวัสดิการต่าง ๆ ก็ครบถ้วนอีกต่างหาก ส่วนขอบเขตของงานจะทำทุกอย่างที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนติดตั้ง บำรุง ซ่อมแซม ดูแลระบบจ่ายไฟ ข้องเกี่ยวกับเคเบิลและระบบไฟหลายชนิด ค่าแรงต่อชั่วโมงอยู่ที่ 30.85 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,000 บาท) ประเมินแล้วเงินเดือนบวกกับค่าความเสี่ยงก็ 2 แสนกว่าบาทต่อเดือนเหมือนกัน
3. ไคโรแพรกติก (Chiropractic)
อีกหนึ่งอาชีพทางสายการแพทย์ที่จำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์พอสมควรสำหรับการจัดกระดูก รวมไปถึงระบบกล้ามเนื้อที่ผิดปกติให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ อ้อ ! ลืมบอกไปว่าศาสตร์การรักษานี้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาหรือการผ่าตัดใด ๆ ทั้งสิ้น งานนี้อาศัยมือของผู้เชี่ยวชาญล้วน ๆ ดังนั้นตัวเลขของเงินเดือนที่ควรได้จึงสูงถึงประมาณ 243,840 บาทต่อเดือน นับเป็นอาชีพที่สร้างรายได้มหาศาลแต่ก็สมน้ำสมเนื้อกับความรู้ความสามารถนะคะ
4. ผู้ตรวจการขนส่ง
เป็นอีกหนึ่งอาชีพในส่วนงานราชการที่มีหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการขนส่งของผู้ประกอบการส่วนต่าง ๆ ด้วยเหตุผลที่ต้องการป้องกันปัญหาทุจริตคอรัปชั่น อาชีพนี้เลยได้เงินเดือนเหนาะ ๆ อยู่ที่ 246,240 บาทต่อเดือน
กว่าจะเรียนจนจบมาได้คงยากลำบากพอดู นักรังสีเทคนิคเลยสมควรแก่การได้ค่าจ้าง 246,720 บาทต่อเดือน แต่ด้วยความรู้ความสามารถที่ร่ำเรียนมาแล้วต้องยกให้เขาเลยจริง ๆ
6. แพทย์เฉพาะทางรังสี
แพทย์เฉพาะทางผู้มีความรู้ความสามารถทางเทคนิคการแพทย์ รวมไปถึงเครื่องฉายแสงต่าง ๆ สามารถวิเคราะห์และวินิจฉัยโรคด้วยเทคโนโลยีรังสีอย่างนี้ได้อย่างเชี่ยวชาญ ส่วนอัตราเงินเดือนของอาชีพนี้ก็สูงถึง 248,160 บาทต่อเดือน แถมแว่ว ๆ มาว่าไม่จำเป็นต้องสแตนบายด์ที่โรงพยาบาลตลอดเวลาอีกต่างหาก
7. ผู้กำกับและโปรดิวเซอร์
ทั้งโปรดิวเซอร์และผู้กำกับละครทีวี ละครเวที และภาพยนตร์ต่างก็มีรายได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากละครหรือภาพยนตร์มีกระแสตอบรับแรง ๆ คนดูกันทั้งประเทศและดังไกลไปถึงเมืองนอก แบบนี้บอกเลยว่ารายได้ต่อเดือนไม่น่าจะต่ำกว่า 250,000 บาทต่อเดือน แถมยังไม่ต้องตอกบัตรเข้างาน ไม่จำเป็นต้องไปทำงานทุกวัน ทว่าเวลามีงานจริง ๆ ก็หามรุ่งหามค่ำเหมือนกัน
8. วิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ
ดูแลรับผิดชอบระบบเดินเรือและเครื่องกลเรือทุกชิ้นส่วน จำเป็นต้องพกความรู้ความเรื่องโครงสร้างเรือ ระบบการทำงานของเรือแต่ละประเภท รวมไปถึงระบบสุขาภิบาล ไฟฟ้า และระบบอื่น ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของเรือด้วย ส่วนอัตราค่าจ้างของอาชีพนี้จะอยู่ที่ประมาณ 260,000 บาทต่อเดือน
อาชีพเกี่ยวกับการเดินเรือนี่เงินเดือนไม่ใช่ย่อย ๆ เลยล่ะ อย่างเหล่ากัปตันและผู้ช่วยกัปตันเรือก็มีรายได้กว่า 1,088 บาทต่อชั่วโมง คิดเป็นเงินเดือนก็ประมาณ 260,000 บาทกว่า ๆ เท่านั้นเอง
10. เกษตรกร
เจ้าของไร่ นา สวน หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม ถ้าทำอย่างจริงจังก็รวยใช่เล่นนะ เบาะ ๆ รายได้ต่อเดือนจะอยู่ที่เกือบ 260,000 บาทเลยทีเดียว
11. นักพยาธิวิทยาด้านการพูดและภาษา (Speech-Language Pathologist)
อาจเป็นอาชีพที่ไม่ค่อยคุ้นหูสักเท่าไร แต่บอกไว้เลยว่าการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร ทำรายได้ต่อเดือนให้นักพยาธิวิทยาด้านการพูดและภาษากว่า 265,000 บาท
12. นักทันตสุขอนามัย (Dental hygienist)
นักทันตสุขอนามัยจะประจำอยู่ตามสาธารณสุขในแต่ละจังหวัด เชี่ยวชาญด้านสุขอนามัยภายในช่องปาก รวมถึงมีความรู้ในการป้องกันโรคทางช่องปากและรักษาความสะอาดของฟันขั้นพื้นฐานได้ อาชีพนี้ในเมืองนอกสามารถทำเงินได้เกิน 265,000 บาทต่อเดือนเชียวนะ
13. นักโสตสัมผัสวิทยา
ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอนามัยภายในช่องหู และประสาทการได้ยินของมนุษย์อย่างครอบคลุม ถ้าประกอบอาชีพนี้ในเมืองนอก การันตีรายได้ไม่ต่ำกว่า 267,000 บาทต่อเดือน ถือเป็นอาชีพที่ทำเงินดี๊ดีอีกอาชีพหนึ่งเลย
14. นักอาชีวบำบัด
อาชีพที่คล้าย ๆ นักจิตวิทยาสาขาหนึ่งซึ่งมีหน้าที่บำบัดผู้ป่วยที่มีการพัฒนาค่อนข้างช้า จนเกิดความบกพร่องในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะกิจกรรมพื้นฐานรอบตัว เช่น การทำงานบ้าน การประกอบอาชีพ หรือฟื้นฟูทักษะการใช้ชีวิตประจำวันให้เหมือนคนปกติ ภารกิจใหญ่ยิ่งขนาดนี้ก็เก็บเงินเข้ากระเป๋าไปเลยเหนาะ ๆ เดือนละ 287,000 บาท
15. ช่างติดตั้งและซ่อมบำรุงลิฟต์
รับผิดชอบตั้งแต่การตรวจสอบโครงสร้างลิฟต์ การผลิต ระบบการทำงาน ไปจนถึงการติดตั้งและซ่อมแซมลิฟต์โดยสาร อาชีพนี้สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำมาก ๆ โดยเรตค่าจ้างในต่างประเทศจะสูงถึงชั่วโมงละ 37.81 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ1,224 บาท) คิดเป็นเงินเดือนก็เกือบ 300,000 เลยนะ
16. นักรังสีการแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีรักษา สามารถบรรเทาและรักษาอาการของโรคด้วยการฉายรังสี คนที่จะประกอบอาชีพนี้ได้ต้องเรียนหนักไม่แพ้แพทย์ พ่วงกับความรู้ด้านรังสีวิทยาที่ควรต้องแม่นเป๊ะ สนนรายได้ต่อเดือนจึงทะยานไปไกลถึง 295,000 บาท
ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีระมนุษย์ สามารถวิเคราะห์ความผิดปกและวางแผนการรักษาอาการผิดปกตินั้นโดยใช้ความรู้พื้นฐานทางกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดจำเป็นต้องแข็งแรงพอสมควรนะคะ เพราะต้องคอยจัดท่ารวมถึงพยุงคนไข้ในระหว่างการทำกายภาพบำบัด ถือเป็นงานที่หนักไม่น้อยเลยทีเดียว เงินเดือนก็เลยต้องสมน้ำสมเนื้อ โดยนักกายภาพบำบัดต่างประเทศจะได้เรตค่าจ้างชั่วโมงละ 38.96 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยก็ตกชั่วโมงละประมาณ 1,261 บาท เท่ากับว่ากวาดรายได้เข้ากระเป๋าเดือนละ 3 แสนกว่าบาทเลย
ความยากของอาชีพนี้อยู่ที่การวินิจฉัยโรคที่สัตว์เป็น เนื่องจากสัตว์เหล่านี้ไม่สามารถบอกอาการเจ็บป่วยของตัวเองได้เลยแม้แต่คำเดียว อีกทั้งยังต้องเก๋าพอที่จะรักษาสัตว์ได้ทุกชนิดบนโลกใบนี้ เงินเดือนเลยปาเข้าไปกว่า 323,000 บาทต่อเดือน
19. เจ้าหน้าที่ทำคลอดทารก
ใครจะประกอบอาชีพนี้ได้ต้องมีความรู้เรื่องสูติแน่นปึ้ก ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับขั้นตอนการทำคลอดเด็กทารก เพื่อให้การคลอดเป็นไปอย่างปลอดภัยทั้งแม่และลูก ซึ่งบ้านเราส่วนใหญ่จะอาศัยแพทย์สูติและพยาบาลผู้มีประสบการณ์ในการทำคลอดแทน แหม...น่าเสียดายไม่เบานะคะ เพราะเจ้าหน้าที่ทำคลอดในต่างประเทศเก็บรายได้รายต่อชั่วโมงถึง 44.37 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,436 บาท) เลยทีเดียว ตกเดือนละเกือบ 350,000 บาท
20. พยาบาลเวชปฏิบัติ
ด้วยหน้าที่รับผิดชอบที่ต้องทำทุกอย่างให้ได้เกือบเทียบเท่าแพทย์ ความรู้ความสามารถจึงต้องอยู่ในระดับดี เงินเดือนเลยค่อนข้างคุ้มค่าในระดับประมาณ 346,000 บาทต่อเดือน
21. ผู้ช่วยทางการแพทย์
อีกหนึ่งอาชีพที่ต้องทำงานร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ลักษณะของงานจะคล้าย ๆ เลขาของแพทย์ ซึ่งต้องจัดเตรียมข้อมูลของคนไข้เพื่อส่งเคสต่อให้แพทย์ได้ และอาจต้องให้คำปรึกษาและคัดกรองคนไข้ก่อนถึงมือหมอ โดยในต่างประเทศตำแหน่งนี้จะค่อนข้างมีตัวตนที่ชัดเจนมากกว่าบ้านเรา แถมเงินเดือนยังดี๊ดีที่ 44.70 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1,447 บาทต่อชั่วโมง คิดเป็นเงินเดือนแล้วก็ประมาณ 350,000 บาท
22. ผู้เชี่ยวชาญในการวัดสายตาและประกอบแว่น
งานที่เกี่ยวกับสายตาจำถือเป็นอาชีพที่มีความสำคัญและค่อนข้างมีละเอียดอ่อน ซึ่งก็แน่นอนว่าผู้เชี่ยวชาญในการวัดสายตาและประกอบแว่นต้องผ่านการร่ำเรียนที่หนักหนาสาหัสเอาการ ค่าตอบแทนจึงต้องสูงเป็นธรรมดา โดยรายได้เฉลี่ยต่อเดือนจะตกประมาณ 378,480 บาท
สายอาชีพที่มีสถานที่ทำงานบนผืนฟ้าเป็นส่วนใหญ่ต้องอาศัยทักษะเฉพาะและความรู้ความสามารถที่คนทั่วไปไม่อาจทำได้ การันตีรายได้แบบไม่ต้องสงสัยตกเดือนละกว่า 430,000 บาท
24. ทันตแพทย์
แค่ถอนฝันไม่กี่ซี่เราก็ต้องควักเงินในกระเป๋าไปหลายร้อย ยังไม่นับรวมทันตกรรมชนิดอื่น ๆ อีก ดังนั้นทันตแพทย์ที่ทำงานทั้งในโรงพยาบาลและเปิดคลีนิกเป็นของตัวเองด้วย มีรายได้ชัวร์ ๆ ไม่ต่ำกว่าหลักแสน อย่างทันตแพทย์ของต่างประเทศจะการันตีรายได้อยู่ที่ 70.36 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2,278 บาทต่อชั่วโมง กดเครื่องคิดเลขดูตกเดือนละ 546,000 เลยทีเดียว
25. พยาบาลวิสัญญี
พยาบาลวิสัญญีถือเป็นวิชาการพยาบาลขั้นสูง ซึ่งต้องมีความรู้ในเรื่องยาระงับความรู้สึก รวมทั้งต้องประเมินปริมาณการให้ยาสลบกับคนไข้ได้อย่างแม่นยำพอสมควร ไม่อย่างนั้นกะผิดกะถูกไปคนไข้ตื่นขึ้นมาระหว่างการผ่าตัดล่ะวุ่นแน่ ดังนั้นตำแหน่งสำคัญทางการแพทย์อย่างนี้รัฐบาลสหรัฐฯ จึงยอมจ่ายค่าแรงให้ชั่วโมงละ 72.64 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณชั่วโมงละ 2,352 บาท ต่อเดือนประมาณ 564,000 บาท
26. จิตแพทย์
ผู้ให้คำปรึกษาปัญหาชีวิตทุกรูปแบบแล้วแต่คนไข้แต่ละเคส และทำการรักษาปัญหาทางจิตและความคิดของคนไข้ภายใต้วิธีการทางจิตวิทยา ถือว่าเป็นงานที่ไม่ต้องลงแรงเท่าไร แต่ในฐานะที่ต้องทนรับฟังแต่ปัญหาของผู้อื่นรายได้จึงงามมาก คิดแล้วตกอยู่ชั่วโมงละ 86.03 ดอลลาร์สหรัฐ ถ้าเป็นเงินไทยก็ราว ๆ 2,786 บาท หรือเดือนละ 668,000 บาท
ในวงการทันตแพทย์ศาสตร์ต้องยอมรับว่า ทันตแพทย์สาขาการจัดฟันแอบทำรายได้ดีเป็นอันดับต้น ๆ ยิ่งในช่วงนี้กระแสจัดฟันยังแรงไม่แผ่วสักนิด รายได้ของหมอฟันสาขานี้จึงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยในอเมริกาเรตรายได้ของทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดฟันจะสูงถึงชั่วโมงละ 90 ดอลลาร์สหรัฐ ตกเกือบ 3,000 บาทต่อชั่วโมง คิดเป็นเงินก็แค่เดือนละ 720,000 เท่านั้นเอง !!
28. ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านโรคข้อต่อขากรรไกร
หน้าที่ของทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคข้อต่อขากรรไกรจะดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวกับความผิดปกติของขากรรไกร สามารถวินิจฉัยและผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรได้ โดยส่วนมากรายได้จะเทียบเท่ากับทันตแพทย์สาขาจัดฟัน คือ ชั่วโมงละ 90 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,000 บาทต่อชั่วโมง หรือเดือนละ 720,000 บาท
29. แพทย์ผ่าตัด
การผ่าตัดเพื่อทำการรักษาโรคดูเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มากในชีวิตของคนเรา ฉะนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้จำเป็นต้องพกพาความรู้ความสามารถที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพมาช่วยชีวิตคน รายได้จากอาชีพนี้จึงค่อนข้างสูง โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่เรต 91.66 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมง อยู่ในไทยก็คงได้ค่าวิชาชีพประมาณ 2,968 บาท ตกเดือนละ 720,000 บาท เช่นกัน
30. วิสัญญีแพทย์
ขนาดพยาบาลวิสัญญียังมีรายได้สูงพอสมควร แล้วนี่เป็นถึงแพทย์วิสัญญีผู้เชี่ยวชาญด้านยาสลบซึ่งต้องจ่ายยาสลบให้แก่คนไข้ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด เทียบกับหน้าที่และความสามารถแล้วก็ต้องยอมให้ค่าวิชาไปเลยที่ 92.41 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยจะประมาณ 2,992 บาทต่อชั่วโมง คำนวนเป็นรายเดือนแล้วบอกเลยว่าอิจฉาตาร้อนมาก ก็เงินเดือนของอาชีพนี้การันตีไม่ต่ำกว่า 7 แสนบาท ! เลยนะเอ้า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)